วัดพระธาตุประสิทธิ์

วัดพระธาตุประสิทธิ์

 พระธาตุประสิทธิ์

“พระธาตุประสิทธิ์ อ.นาหว้า จ.นครพนม”
พระธาตุประจำวันเกิดของผู้ที่เกิดวันพฤหัสบดี
ผู้ใดได้ไปนมัสการ จะได้รับอานิสงส์ให้ประสบผลสำเร็จในหน้าที่การงาน

 

ที่ตั้ง วัดธาตุประสิทธิ์ อำเภอนาหว้า จังหวัดนครพนม

 

พระธาตุประสิทธิ์

ประวัติ พระธาตุประสิทธิ์

เดิมเป็นเจดีย์เก่าแก่ ชำรุดทรุดโทรม มีเถาวัลย์ปกคลุม ภายในอุโมงค์มีพระพุทธรูปเก่าแก่หลายองค์ ผู้ค้นพบได้แก่ชนเผ่าญ้อ ซึ่งหนีภัยสมครามการรบพุ่ง ระหว่างอาณาจักรล้านช้างเวียงจันทน์กับพม่าและอาณาจักรเชียงใหม่ในสมัยพระ เจ้าไชยเชษฐา เมื่อ พ.ศ. 2112 ได้พร้อมกันบูรณะครั้งแรกและให้นามว่า พระธาตุประสิทธิ์ ในปี พ.ศ. 2283 เจ้าผู้ครองนครศรีโคตรบูร พระนามว่า พระเจ้าขัติวงศาราชบูรณ์หลวง ได้บูรณะเสริมยอดสูงประมาณ 30 เมตร พ.ศ. 2436 พระเจดีย์ชำรุดทรุดโทรมมาก จนยอดเจดีย์หักลงมาท่านพระประสิทธิ์ศึกษาธิการ เจ้าอาวาส ในขณะนั้นได้บูรณะซ่อมแซมพระเจดีย์ได้สวยงามยิ่งขึ้น

หลักฐาน พระธาตุประสิทธิ์ได้รับการบูรณะ โดยเลียนแบบพระธาตุพนม ลักษณะรูปทรงสี่เหลี่ยม กว้าง 7.52 เมตร มีประตูเปิด-ปิด 2 ด้าน พ.ศ. 2515 ได้นำบรมสารีริกธาตุ และอรหันต์ธาตุรวม 7 องค์มาบรรจุไว้ในองค์พระธาตุ พระธาตุประสิทธิ์มีความศักดิ์สิทธิ์ เป็นโบราณสถานเก่าแก่ที่ควรเคารพบูชาในวันขึ้น 10 ค่ำ ถึงวันที่ 15 ค่ำ เดือน 4 จะมีงานเทศกาลนมัสการพระธาตุประสิทธิ์ เป็นประจำทุกปี

หอสมุดแห่งชาติจังหวัดนครพนม

หอสมุดแห่งชาติจังหวัดนครพนม

เมื่อปีพุทธศักราช  2533  พลเอกมานะ  รัตนโกเศศ  สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัด
นครพนมและดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการในสมัยนั้นให้การสนับ
สนุนที่จะจัดตั้งหอสมุดแห่งชาติสาขาขึ้นที่จังหวัดนครพนมเพื่อให้เป็นศูนย์รวมแห่ง
การเรียนรู้ที่จะเอื้อประโยชน์ในการศึกษาค้นคว้าแก่นักเรียน  นักศึกษา   และประชาชน
ในจังหวัดนครพนม  และจังหวัดใกล้เคียงโดยการเข้าร่วมกิจกรรมหนึ่งในโครงการ
ที่รัฐบาลจัดขึ้นน้อมเกล้าน้อมกระหม่อมถวายเป็น ราชสักการะเพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ  เนื่องในมหามงคลเฉลิมพระชนม พรรษา  5  รอบ
(12  สิงหาคม  2535) และได้รับพระราชทาน พระบรมราชานุญาตให้ใช้ชื่อว่า
“หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ิ์  พระบรมราชินีนาถ  นครพนม”
เนื่องจากไม่มีงบประมาณในการก่อสร้างอาคารใหม่  และอาคารศาลากลาง
จังหวัดนครพนมหลังเก่าถูกทิ้งไว้ โดยไม่ได้ใช้ประโยชน์มาช้านาน  รัฐมนตรี
ว่าการกระทรงศึกษาธิการและจังหวัดนครพนมจึงเห็นสมควร ให้ดำเนินการ
ปรับปรุงซ่อมแซมเพื่อใช้เป็นอาคารหอสมุดแห่งชาติฯ   และเปิดให้บริการเมื่อ
พุทธศักราช  2537  เป็นต้นมา  งบประมาณในการซ่อมแซมอาคารในระยะแรก
เป็นงบประมาณจาก โครงการอีสานเขียวจำนวน  7,973,000 บาท
โดยผูกพันงบประมาณไว้  2  ปี  ดังนี้
พ.ศ. 2534          ค่าปรับปรุงอาคาร                3,000,000             บาท
พ.ศ. 2535          ค่าปรับปรุงอาคาร                4,250,000             บาท
ค่าติดตั้งและเดินสายไฟ           723,000             บาท
พ.ศ. 2536          ได้รับงบประมาณ  1,936,000  บาท  เป็นค่าก่อสร้าง
โรงอาหารและห้องสุขาบริเวณด้านหลังอาคารหอสมุด
ซึ่งเป็นการก่อสร้างทดแทนโรงอาหารเดิมที่เป็นอาคารไม้
และชำรุดทรุดโทรม ประกอบกับตัวอาคารหอสมุดฯ
ไม่มีห้องสุขา  จึงจำเป็นต้องจัดสร้างสิ่งอำนวยความสะดวก
เหล่านี้ไว้ด้วย
พ.ศ. 2537          ได้รับอนุมัติให้เกลี่ยอัตรากำลังจากหอสมุดแห่งชาติสาขาอื่น
รวม  6   ตำแหน่ง  ไปปฏิบัติหน้าที่หอสมุดฯ  นครพนม  และ
เริ่มเปิดบริการได้ตั้งแต่เดือนมิถุนายน  พ.ศ. 2537   เป็นต้นไป
พ.ศ. 2538          ฯพณฯ พลเอกชวลิต  ยงใจยุทธ  รองนายกรัฐมนตรี  และรัฐมนตรี
ว่าการกระทรวงกลาโหมในขณะนั้น  ได้มาเยี่ยมชมหอสมุดฯ                                                                                                                                       เพื่อจัดซื้อครุภัณฑ์และ โสตทัศนูปกรณ์
พ.ศ. 2549           ได้รับงบประมาณในการซ่อมหลังคาอาคารหอสมุด
จำนวน  2,400,000  บาท  ผู้รับจ้าง ประมูลได้  2,380,000  บาท
พ.ศ. 2550          ได้รับงบประมาณในการปรับปรุงอาคารทั้งหลัง  7,000,000  บาท

อาคารหอสมุดแห่งชาติฯ  นครพนม  หรือเดิมเป็นอาคารศาลากลางจังหวัดนครพนม
สร้างขึ้นในปี  พ.ศ. 2458  ในสมัยพระวิจิตรคุณสาร  (ต่อมาเป็นพระยาพนมนครานุรักษ์)
ผู้ว่าราชการจังหวัดนครพนมคนแรกและตรงกับรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้า
อยู่หัว รัชกาลที่  5  เป็นอาคาร  3  ชั้น   ขนาดกว้าง 12 เมตร  ยาว  36  เมตร  รวมพื้นที่
2,504  ตารางเมตร  มีลักษณะสถาปัตยกรรมผสมระหว่างสถาปัตยกรรมไทย
และยุโรป  สร้างด้วยอิฐฉาบปูน   พื้นและบันไดเป็นไม้  อาคารเดิมเป็นสีเหลือง
เมื่อมีการปรับปรุงครั้งแรกในปี  พ.ศ. 2534  ได้เปลี่ยนเป็นสีขาวทั้งหลัง  และในปี
พ.ศ. 2540  ได้เปลี่ยนสีอาคารเป็นสีเหลืองตามแบบอาคารเดิมจนถึงปัจจุบัน

วัดพระธาตุมหาชัย

วัดพระธาตุมหาชัย

อยู่ตำบลมหาชัย ห่างจากตัวจังหวัดประมาณ 39 กิโลเมตร ตามเส้นทางนครพนม-สกลนคร ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 22 แล้วแยกเข้าทางหลวงหมายเลข 2276 เข้าวัดอีก 1.8 กิโลเมตร ทางเข้าวัดเป็นถนนคอนกรีต องค์พระธาตุสูง 37 เมตร เป็นปูชนียสถานที่สำคัญยิ่งแห่งหนึ่ง เพราะเป็นที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุและพระอรหันต์สารีริกธาตุ ภายในพระอุโบสถนอกจากพระประธานคือ พระพุทธไชยสิทธิ์แล้วยังมีพระพุทธรูปปางห้ามญาติสลักจากไม้ต้นสะเดาหวานที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย และภาพเขียนบนฝาผนังอุโบสถแสดงพุทธประวัติ มีลวดลายศิลปกรรมที่งดงามมากในภาคอีสาน

วัดพระธาตุมหาชัย นครพนม

พระ บาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ ได้เสด็จพระราชดำเนินทรงประกอบพิธีบรรจุพระบรมสารีริกธาตุไว้ที่พระธาตุ มหาชัย เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2518 ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 ซึ่งเป็นวันวิสาขบูชา และที่วัดนี้ยังเป็นที่จำพรรษาของพระสุนทรธรรมากร (หลวงปู่คำพันธ์ โฆสปัญโญ) พระเกจิอาจารย์สายวิปัสนาที่สำคัญองค์หนึ่ง ซึ่งเป็นที่เคารพนับถือของชาวนครพนมและชาวอีสานทั่วไป

พระธาตุมรุกขนคร

พระธาตุมรุกขนคร

 องค์พระธาตุมรุกขนคร ประดิษฐานที่วัดมรุกขนคร อ.ธาตุพนม ห่างจากตัวจังหวัดประมาณ 40 กม. องค์พระธาตุก่ออิฐถือปูนเป็นผังสี่เหลี่ยม ลักษณะคล้ายพระธาตุพนม แต่เล็กกว่า สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2536 พระมหาธาตุเจดีย์ สูง 50.9 เมตร ฐานกว้างด้านละ 20 เมตร สิ้นค้าก่อสร้าง 35,000,000 บาท ได้รับการอุปถัมภ์จากหม่อมหลวงทวีสันต์ ลดาวัลย์ ราชเลขาธิการ และคุณหญิงแม่บุญศรีสนธยางกูล พร้อมด้วยศรัทธาญาติโยมจากทั่วสารทิศ พระธาตุสูง 50.9 เมตร มีความหมายว่าสร้างขึ้นเพื่อสิริราชสมบัติในหลวงทรงครองราชย์ ๕๐ ปี และ จุด ๙ นั้นหมายถึงราชกาลที่ ๙
สิ่งของบูชาพระธาตุ
ข้าวตอก น้ำอบ ข้าวเหนียวปิ้ง ดอกบัว ธูป 17 ดอก เทียน 2 เล่ม
คำนมัสการพระธาตุมรุกขนคร
นะวาหัง ปะระมะสารีริกธาตุโย มรุกขะนะคะระวะหะเย มหาธาตุเจติยัคเค ปติฏฐิตา สิระสา นะมามิ
พระธาตุมรุกขนคร เป็นพระธาตุบริวารของพระธาตุพนมองค์ที่อายุน้อยที่สุดในบรรดาพระธาตุบริวาร ทั้งเจ็ดองค์ สร้างมายังไม่ถึงยี่สิบปี ตั้งอยู่ที่บ้านดอนนางหงส์ท่า ต ดอนนางหงส์ อ.ธาตุพนม จ.นครพนม วัดมรุกขนครที่ประดิษฐานพระธาตุองค์นี้มีอายุเกือบสามร้อยปีมาแล้ว สร้างโดยพระบรมราชาเจ้าแอวก่าน เจ้าเมืองมรุกขนคร วัดนี้เป็นวัดประจำเมืองที่มีความเจริญมากต่อมาจึงร้างไป ซากเดิมตั้งอยู่ที่โรงเรียนดอนนางหงส์สงเคราะห์ตรงข้ามที่ตั้งวัดเดิมใน ปัจจุบัน กั้นด้วยห้วยบังฮวกซึ่งเป็นห้วยที่ไหลมาจากแม่นำโขง หลังจากนั้นจึงได้ย้ายเมืองไปตั้งที่บ้านโพธิ์ (บริเวณที่เป็นตัวเมืองนครพนมในปัจจุบัน)ประวัติเมืองมรุกขนคร
เมืองมรุกขนคร เดิมชื่อ เมืองศรีโคตรบูร ครั้งแรกตั้งอยู่ที่ปากห้วยหินบูร ฝั่งประเทศลาว ตรงกันข้ามอำเภอท่าอุเทน ครั้งที่สองย้ายมาตั้งที่ปากห้วยศรีมัง คือ เมืองท่าแขกในประเทศลาว พญานาครานุรักษ์ (คำสิงห์) ได้เปลี่ยนเป็นชื่อเมืองมรุกขนคร พระบรมราชา (กู่แก้ว) ผู้ครองเมืองรุกขนนคร ได้ย้ายจากเมืองท่าแขกมาตั้งที่ฝั่งขวาแม่น้ำโขงตรงปากห้วยบังฮวก เมื่อ พ.ศ. 2300 ได้สร้างวัดในเมือง 1 วัด ให้ชื่อวัดตามชื่อเมืองว่า “มรุกขนคร” เป็นวัดใหญ่ตั้งอยู่กลางเมือง เจริญรุ่งเรืองมากในอดีต ปัจจุบันเหลือแต่ฐานอุโบสถอยู่บริเวณโรงเรียนดอนนางหงส์สงเคราะห์ ทิศเหนือของห้วยบังฮวก เมื่อก่อนเป็นเขตพุทธาวาส ฝั่งทิศใต้เป็นเขตสังฆาวาส (เป็นที่ตั้งวัดมรุกขนครในปัจจุบัน ที่ดินของวัดจึงเหลือเพียงส่วนเดียว) ต่อมาก็มีการสร้างวัดรอบๆ ได้แก่

1. วัดดอนกอง (อยู่ระหว่างบ้านดอนกอง ต่อกับบ้านดงขวาง)
2. วัดดงขวางท่า (อยู่ริมถนนชยางกูรทิศตะวันตกเหนือสุดบ้านดงขวางท่า )
3. วัดขอนแก่น (อยู่ริมห้วยบังฮวกลึกเข้าไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ)
4. วัดนาถ่อนท่า /ดอนศาลเจ้า (บ้านนาถ่อนท่าอยู่ริมถนนชยางกูรด้านทิศตะวันออก)

สถานที่ตั้งเมืองมรุกถูกน้ำกัดเซาะตลิ่งพังอยู่เรื่อย ๆ รวมทั้งเกิดโรคระบาด มีผู้คนล้มตายเป็นอันมาก ในปี พ.ศ. 2320 จึงได้ย้ายตัวเมืองไปตั้งที่บ้านหนองจันทร์ ตำบล ท่าค้อแทนได้ปรากฏชื่อว่าบ้านเมืองเก่าจนถึงปัจจุบัน เหลือหลักฐานส่วนฐานของศาสนสถานรูปทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้าก่อด้วยอิฐ ต่อมาในปี พ.ศ. 2539 ทางโรงเรียนได้นำอิฐมาก่อล้อมซากอาคารอายุประมาณปลายสมัยอยุธยา ต้นรัตนโกสินทร์ ซึ่งถือเป็นโบราณสถานแห่งหนึ่งของตำบล

ดนี้เป็นวัดที่สำคัญและเก่าแก่มากแห่งหนึ่งของนครพนม ตั้งแต่สมัยที่เป็นเมืองมรุกขนคร ส่วนพระธาตุเป็นพระธาตุที่สร้างขึ้นในยุคหลัง แม้ว่าตามแผนที่พระธาตุองค์นี้อยู่ในเขตอำเภอธาตุพนม เหมือนๆ กับพระธาตุพนม แต่ด้วยระยะทางแล้ว พระธาตุมรุกขนครอยู่ใกล้กับพระธาตุเรณูมากกว่า ดังนั้นพระธาตุมรุกขนครจึงเป็นพระธาตุลำดับที่ 4 ตามแผนการเดินทางทริปไหว้ 8 พระธาตุประจำวันเกิด อ่านรายละเอียดของการเดินทางได้ใน ไหว้ 8 พระธาตุประจำวันเกิด การเดินทางมาตามทางหลวงหมายเลข 212 เป็นถนนสายเลียบแม่น้ำโขงที่ผ่านหลายอำเภอในจังหวัดนครพนม จากพระธาตุพนม มีทางแยกเข้าพระธาตุเรณู จากนั้นก็มาพระธาตุมรุกขนคร ต่อจากนั้นยังไปถึงพระธาตุท่าอุเทน ได้อีกด้วย เมื่อเข้ามาในวัดจะเห็นอุโบสถอยู่ตรงหน้าทางเข้าวัด มีทางข้างโบสถ์ไปถึงสระน้ำ ขับมาถึงด้านหลังของโบสถก็จะเห็นพระธาตุมรุกขนคร ในกำแพงแก้วล้อมรอบ มีซุ้มประตู 4 ทิศ ที่สร้างอย่างสวยงาม
พระธาตุมรุกขนคร

พระธาตุมรุกขนครพระธาตุมรุกขนครพระธาตุมรุกขนคร

วัดพระธาตุพนมวรมหาวิหาร

วัดพระธาตุพนมวรมหาวิหาร

ประวัติ

ตามตำนานพระธาตุพนม ในอุรังคนิทานกล่าวว่า สมัยหนึ่งในปัจฉิมโพธิกาล พระพุทธเจ้า พร้อมทั้งพระอานนท์ ได้เสด็จมาทางทิศตะวันออก โดยทางอากาศ ได้มาลงที่ดอนกอนเนา แล้วเสด็จไปหนองคันแทเสื้อน้ำ (เวียงจันทน์) ได้พยากรณ์ไว้ว่า ในอนาคตจะเกิดบ้านเมืองใหญ่ เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธศาสนา จากนั้นได้เสด็จไปตามลำดับ ได้ทรงประทานรอยพระพุทธบาทไว้ที่ โพนฉัน (พระบาทโพนฉัน) อยู่ตรงข้ามอำเภอโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย แล้วเสด็จมาที่ พระบาทเวินปลา ซึ่งอยู่เหนือเมืองนครพนมปัจจุบัน ได้ทรงพยากรณ์ที่ตั้งเมืองมรุกขนคร (นครพนม) และได้ประทับพักแรมที่ภูกำพร้าหนึ่งคืน วันรุ่งขึ้นเสด็จข้ามแม่น้ำโขง ไปบิณฑบาตที่เมืองศรีโคตบูร พักอยู่ที่ร่มต้นรังต้นหนึ่ง (พระธาตุอิงฮังเมืองสุวรรณเขต) แล้วกลับมาทำภัตกิจ (ฉันอาหาร) ที่ภูกำพร้าโดยทางอากาศ พญาอินทร์ได้เสด็จมาเฝ้าและทูลถามพระพุทธองค์ ถึงเหตุที่มาประทับที่ภูกำพร้า พระพุทธองค์ได้ตรัสว่า เป็นประเพณีของพระพุทธเจ้าทั้ง 3 พระองค์ ในภัททกัลป์ที่นิพพานไปแล้ว บรรดาสาวกจะนำพระบรมสารีริกธาตุ มาบรรจุไว้ที่ภูกำพร้า พระพุทธองค์เมื่อนิพพานแล้ว พระมหากัสสปะ ผู้เป็นสาวก ก็จะนำเอาพระบรมสารีริกธาตุมาบรรจุไว้ ณ ที่นี้เช่นกัน จากนั้นพระพุทธองค์ก็ได้ทรงปรารภถึงเมืองศรีโคตบูร และมรุกขนคร แล้วเสด็จไปหนองหารหลวง ได้ทรงเทศนาโปรดพญาสุวรรณพิงคาระ และพระเทวี ประทานรอยพระพุทธบาทไว้ ณ ที่นั้น แล้วเสด็จกลับพระเชตวัน หลังจากนั้นก็เสด็จปรินิพพานที่เมืองกุสินารา

เมื่อพระพุทธองค์เสด็จปรินิพพานแล้ว มัลลกษัตริย์ทั้งหลายได้ถวายพระเพลิงพระสรีระ แต่ไม่สำเร็จ จนเมื่อพระมหากัสสปะมาถึงได้อธิษฐานว่า พระธาตุองค์ใดที่จะอัญเชิญไปประดิษฐานที่ภูกำพร้า ขอพระธาตุองค์นั้นเสด็จมาอยู่บนฝ่ามือ ดังนี้แล้ว พระอุรังคธาตุ ก็เสด็จมาอยู่บนฝ่ามือขวาของพระมหากัสสปะ ขณะนั้นไฟธาตุก็ลุกขึ้นโชติช่วง เผาพระสรีระได้เองเป็นอัศจรรย์ เมื่อถวายพระเพลิงและแจกพระบรมสารีริกธาตุเสร็จเรียบร้อยแล้ว พระมหากัสสปะพร้อมด้วยพระอรหันต์ 500 องค์ ก็ได้อัญเชิญพระอุรังคธาตุ มาทางอากาศ แล้วมาลงที่ดอยแท่น (ภูเพ็กในปัจจุบัน) จากนั้นได้ไปบิณฑบาตที่เมืองหนองหารหลวง เพื่อบอกกล่าวแก่พญาสุวรรณพิงคาระ ตำนานตอนนี้ตรงกับตำนานพระธาตุเชิงชุม และพระธาตุนารายณ์เจงเวง ซึ่งมีรายละเอียดอยู่แล้ว เมื่อพญาทั้ง 5 ซึ่งอยู่ ณ เมืองต่าง ๆ อันได้แก่ พญานันทเสน แห่งเมืองศรีโคตบูร พญาจุลณีพรหมทัต พญาอินทปัตถนคร พญาคำแดง แห่งเมืองหนองหารน้อย และพญาสุวรรณพิงคาระ แห่งเมืองหนองหารหลวง ได้พากันปั้นดินดิบก่อแล้วเผาไฟ ตามคำแนะนำของพระมหากัสสปะ แบบพิมพ์ดินกว้างยาวเท่ากับฝ่ามือพระมหากัสสปะ ครั้นปั้นดินเสร็จแล้วก็พากันขุดหลุมกว้าง 2 วา ลึก 2 ศอก เท่ากันทั้ง 4 ด้าน เมื่อก่อดินขึ้นเป็นรูปเตา 4 เหลี่ยม สูง 1 วา โดยพญาทั้ง 4 แล้ว พญาสุวรรณภิงคาระก็ได้ก่อส่วนบน โดยรวมยอดเข้าเป็นรูปฝาปารมีสูง 1 วา รวมความสูงทั้งสิ้น 2 วา แล้วทำประตูเตาไฟทั้ง 4 ด้าน เอาไม้จวง จันทน์ กฤษณา กระลำพัก คันธรส ชมพู นิโครธ และไม้รัง มาเป็นพื้น ทำการเผาอยู่ 3 วัน 3 คืน เมื่อสุกแล้วจึงเอาหินหมากคอยกลางโคก มาถมหลุม เมื่อสร้างอุโมงค์ดังกล่าวเสร็จแล้ว พญาทั้ง 5 ก็ได้บริจาคของมีค่าบรรจุไว้ในอุโมงค์เป็นพุทธบูชา จากนั้น พระมหากัสสปะ ก็ได้อัญเชิญพระอุรังคธาตุ เข้าบรรจุภายในที่อันสมควร แล้วให้ปิดประตูอุโมงค์ไว้ทั้ง 4 ด้าน โดยสร้างประตูด้วยไม้ประดู่ ใส่ดาลปิดไว้ทั้ง 4 ด้าน แล้วให้คนไปนำเอาเสาศิลาจากเมืองกุสินารา 1 ต้น มาฝังไว้ที่มุมเหนือตะวันออก แปลงรูปอัศมุขี (ยักษิณีหน้าเป็นม้า) ไว้โคนต้นเพื่อเป็นหลักชัยมงคลแก่บ้านเมืองในชมพูทวีป นำเอาเสาศิลาจากเมืองพาราณสี 1 ต้น ฝังไว้มุมใต้ตะวันออก แปลงรูปอัศมุขีไว้โคนต้น เพื่อหมายมงคลแก่โลก นำเอาเสาศิลาจากเมืองตักศิลา 1 ต้น ฝังไว้มุมเหนือตะวันตก พญาสุวรรณพิงคาระให้สร้างรูปม้าอาชาไนยไว้ตัวหนึ่ง หันหน้าไปทางทิศเหนือ เพื่อแสดงว่าพระบรมธาตุเสด็จออกมาทางทิศทางนั้น และพระพุทธศาสนาจักเจริญรุ่งเรืองจากเหนือเจือมาใต้ พระมหากัสสปะให้สร้างม้าพลาหกไว้ตัวหนึ่ง คู่กัน หันหน้าไปทางทิศเหนือ เพื่อเป็นปริศนาว่า พญาศรีโคตบูรจักได้สถาปนาพระอุรังคธาตุไว้ตราบเท่า 5,000 พระวัสสา เกิดทางใต้และขึ้นไปทางเหนือ เสาอินทขีล ศิลาทั้ง 4 ต้น ยังปรากฏอยู่ 2 ต้น ทางทิศตะวันออก ส่วนอีก 2 ต้น ได้ก่อหอระฆังหุ้มไว้ ส่วนม้าศิลาทั้ง 2 ตัว ก็ยังปรากฏอยู่ถึงปัจจุบัน

Wat Phra That Phanom 2006-01.jpg

พระธาตุเรณู

พระธาตุเรณู

ประวัติ

พระธาตุเรณู ตั้งอยู่ที่ วัดธาตุเรณู แต่เดิมชื่อ วัดกลาง เพราะสร้างขึ้นตรงกลางเมือง มีพื้นที่ประมาณ 16 ไร่เศษ เป็นวัดคู่บ้านคู่เมือง แต่จะสร้างขึ้นเมื่อใดนั้นไม่มีหลักฐานแน่นอน เล่ากันมาว่าเจ้าผู้ปกครองเมืองคนแรกพร้อมด้วยอุปฮาดกรมการเมืองและราษฎร ร่วมกันสร้างขึ้น แต่โบราณกาลมาถือว่าวัดกลางเป็นวัดสำคัญของเมือง เป็นวัดสำหรับกระทำพิธีดื่มน้ำพระพิพัฒน์สัตยาตามประเพณีด้วย ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อวัดกลางมาเป็น วัดธาตุเรณู ตาม พระธาตุเรณู ดังที่เรียกกันอยู่ในปัจจุบันนี้

พระธาตุเรณู สร้างด้วยอิฐถือปูน ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของวัดในปัจจุบัน มีการก่อสร้างถึง 2 ครั้ง ครั้งแรกแล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2461 แต่ยังไม่ทันจะทำการฉลองสมโภชก็ถูกฟ้าผ่าพังทลายจนหมดสิ้น เป็นที่เศร้าเสียใจกันทั่ว ทั้งฝ่ายสงฆ์และฝ่ายฆราวาสจึงประชุมเห็นพร้อมกันว่าต้องทำการก่อสร้างพระ ธาตุนี้ขึ้นอีกให้ได้ โดยก่ออิฐให้หนาขึ้น ทำการก่อสร้างอยู่ราวปีกว่าก็สำเร็จเรียบร้อย จึงได้จัดงานฉลองสมโภชในปี พ.ศ. 2463

พระธาตุเรณู

รูป แบบของพระธาตุเรณูได้จำลองรูปทรงมาจากพระธาตุพนมองค์เดิม (องค์ก่อนกรมศิลปากรบูรณะเมื่อปี พ.ศ. 2483) แต่มีขนาดเล็กกว่า สูงประมาณ 35 เมตร ตั้งอยู่บนฐานสี่เหลี่ยมกว้างด้านละ 8.37 เมตร เรือนธาตุเป็นทรงสี่เหลี่ยมสูง เรือนธาตุชั้นแรกและชั้นที่ 2 ประดับด้วยซุ้มประตูหลอกและลวดลายปูนปั้นทั้ง 4 ด้าน ถัดขึ้นไปเป็นส่วนองค์ระฆังทำทรงบัวเหลี่ยมประดับด้วยลายดอกจอกปูนปั้น ถัดขึ้นไปจึงเป็นส่วนของยอดซึ่งประดับด้วยฉัตรอยู่ด้านบนสุด ภายในองค์พระธาตุบรรจุพระไตรปิฎก พระพุทธรูปทองคำ พระพุทธรูปเงิน รวมทั้งของมีค่าที่เจ้าเมืองและประชาชนมีศรัทธาบริจาค

นอกจากนั้น ภายในวัดธาตุเรณูยังเป็นที่ประดิษฐานของ “พระองค์แสน” ซึ่งเป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองที่ประชาชนเคารพนับถือมาก พระองค์แสนมีน้ำหนักถึง 10 หมื่น  ตามมาตราชั่งที่นิยมใช้กันในท้องถิ่น คือ 1 หมื่น เท่ากับ 12 กิโลกรัม 10 หมื่น จึงเท่ากับ 120 กิโลกรัม แต่การนับในปัจจุบัน 10 หมื่นเป็น 1 แสน เพราะเหตุนี้จึงเรียกชื่อพระพุทธรูปองค์นี้ว่า “พระองค์แสน” หรือ “หลวงพ่อองค์แสน”

ลักษณะของพระพุทธรูปองค์นี้เป็นพระพุทธรูปทองเหลือง หน้าตักกว้าง 50 เซนติเมตร สูง 50 เซนติเมตร  ปางสมาธิ พระพักตร์เป็นแบบลาว ขมวดพระเกศาเล็ก พระรัศมีเป็นเปลว อายุประมาณ 100 ปีขึ้นไป พระสงฆ์และชาวบ้านร่วมกันหล่อพระองค์แสนขึ้นเพื่อจะให้เป็นพระพุทธรูปที่ ศักดิ์สิทธิ์ ขจัดภัยพิบัติข้าศึกศัตรูหมู่อมิตร เป็นนิมิตรหมายถึงความอุดมสมบูรณ์พูนสุขแก่ประชาชนที่เคารพนับถือ ให้ฝนตกต้องตามฤดูกาล ให้ได้ทำไร่ทำนากันทั่วไป และเมื่อถึงวันสงกรานต์ของทุก ๆ ปี จะมีพิธีอัญเชิญพระองค์แสนแห่ไปรอบเมือง เพื่อให้ประชาชนได้สักการบูชาและสรงน้ำด้วย

อย่างไรก็ตาม ในทุกปีช่วงวันขึ้น 11 – 15 ค่ำ เดือน 4 จะมีงานเทศกาลนมัสการพระธาตุเรณูนครขึ้นเป็นประจำ ทั้ง นี้ พระธาตุเรณูนคร ยังเป็นพระธาตุประจำวันเกิดของผู้ที่เกิดวันจันทร์ เชื่อกันว่าผู้ที่ได้นมัสการจะได้รับอานิสงส์ส่งผลให้มีวรรณะงดงามผุดผ่อง ดังแสงจันทร์ สำหรับเครื่องสักการะ : ธูป 15 ดอก, เทียนขาว 2 เล่ม, พวงมาลัย, ดอกไม้, ผ้าสีเหลือง, น้ำอบไทย, ข้าวเหนียวปิ้ง และข้าวพอง

พระธาตุเรณู พระธาตุประจำวันเกิดวันจันทร์

พระธาตุเรณู

จวนผู้ว่าเก่าจังหวัดนครพนม

จวนผู้ว่าเก่าจังหวัดนครพนม

พิธภัณฑ์จวนผู้ว่าราชการจังหวัดนครพนม เป็นสถาปัตยกรรมดีเด่นในจังหวัดนครพนม ที่มีความสวยงามโดยเฉพาะ มีลักษณะเป็นแบบตะวันตก เพราะได้รับอิทธิพลในรูปแบบการก่อสร้างจากฝรั่งเศส ช่วงสมัยสงครามอินโดจีน

จวนผู้ว่าฯหลังนี้สร้าง ขึ้นโดยพระยาพนมครานุรักษ์ (อุ้ย นครทรรภ) ผวจ.นครพนม คนแรก เป็นตึก 2 ชั้น ทรงจั่ว ก่ออิฐถือปูนหลังคามุงกระเบื้องไทย ชั้นล่างปูกระเบื้องซีเมนต์ พื้นชั้นบนปูกระดานไม้เข้าลิ้น สร้างด้วยอิฐดินเผาสมัยโบราณ
ลักษณะ ของสถาปัตยกรรมเป็นประตูโค้งครึ่งวงกลมหน้าต่างโค้ง เหนือประตูหน้าต่างเป็นลายปูนปั้น หรือแกะสลัก หลังคาไม่ลาดชันนัก อาคารมีเสาเป็นเสาสี่เหลี่ยมขนาดใหญ่ทั้งสิ้น เนื่องจากแม้จะมีอายุที่เก่าแก่มากแล้ว แต่ยังคงรักษาสภาพและความสวยงามต่างๆ ไว้ได้อย่างดีและยังคงความสวยงามจนถึงปัจจุบัน
พิพิธภัณฑ์ จวนผู้ว่าราชการจังหวัดนครพนม มีเนื้อที่ 4 ไร่เศษ ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำโขง ถ.สุนทรวิจิตร อ.เมือง จ.นครพนม อายุเก่าแก่กว่า 80 ปี
ในปัจจุบันปรับปรุงให้เป็นพิพิธภัณฑ์ เป็นแหล่งท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์ที่สำคัญของชาวนครพนม  และมีนิทรรศการ “ภาพเล่าเรื่อง” ในอดีตของเมืองนครพนม
แบ่งเป็น 5 โซน อยู่ชั้นล่าง 3 โซน และชั้นบนอีก 2 โซน
โซน ที่ 1 จะเป็นการเล่าเรื่องอาคารแห่งความทรงจำผ่านภาพ  เป็นการเล่าที่มาของบุคคลที่เคยอาศัยอยู่  และประวัติของผวจ. ที่สร้างอาคารแห่งนี้
โซนที่ 2  จะเป็นภาพเล่าเรื่องเกี่ยวกับย่านเก่านครพนม  ที่ผู้ชมจะได้เห็นบรรยากาศเก่าๆ ของชุมชนริมโขง  และบางส่วนที่เป็น  UNSEEN จ.นครพนม
โซนที่ 3 คือ ม่วนซื่นนครพนม  ที่โซนนี้จะมีภาพที่เล่าเรื่องราวความหลากหลายของศิลปวัฒนธรรม  รวมถึงวิถีการใช้ชีวิตร่วมกันระหว่างคนไทย ลาว และเวียดนาม
ชั้น สอง ทุกคนจะได้เห็นภาพไฮไลท์  ยายตุ้ม  จันทนิต  ถวายดอกบัวแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ครั้งที่พระองค์เสด็จประพาสเยือนถิ่นอีสานในปี  2498  และประทับที่แห่งนี้  1  ราตรี  โดยขณะนั้นยายตุ้มอายุได้  102  ปี  ด้วยความจงรักภักดียายเดินทางมารอรับเสด็จแต่เช้า  จนดอกบัวที่รอถวายให้เหี่ยวลงเพราะแสงแดดที่แรงจัดในช่วงบ่าย  อีก  3  ปีต่อมายายตุ้มก็สิ้นชีวิต
สำหรับชั้นบนนี้จะแบ่งออกเป็น 2 โซน
โซนที่ 1 เป็นนิทรรศการเล่าเรื่องด้วยภาพ และเสียงระหว่างที่ในหลวง และพระราชินีทรงเสด็จมาประทับแรม
โซน ที่ 2 โซนสุดท้ายจะเป็นการจัดแสดงห้องนอนใหญ่ที่ทั้ง 2 พระองค์ทรงประทับแรม แต่ไม่มีเฟอร์นิเจอร์เนื่องจากทางสำนักพระราชวังเป็นคนขนมา และขนกลับ
อาคาร ด้านหลังได้ปรับปรุงให้เป็น “เฮือนเฮือไฟ” (เรือนเรือไฟ) เพื่อจัดแสดงเกี่ยวกับประวัติความเป็นมา และการสร้างเรือไฟของ จ.นครพนม ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ที่นี่นักท่องเที่ยวจะได้ชมเรือไฟโบราณที่มีขนาดแค่  4-5  ศอก  และทำด้วยวัสดุธรรมชาติ
ประวัติ 
จวน ผู้ว่าราชการจังหวัดนครพนม (หลังเก่า)  เดิมเป็นทรัพย์สินส่วนตัวของ พระยาอดุลยเดชสยามเมศวรภัคดีพิริยพาหะ (อุ้ย  นาครทรรพ) เทศาภิบาลมณฑลอุดรธานี  ซึ่งเป็น ผู้ว่าราชการจังหวัดนครพนมคนแรก ก่อสร้างสร้างระหว่างปี  พ.ศ.  2455-2457  ผู้สร้างเป็นชาวญวน ชั้นบนและล่างไม่มีเสา และไม่มีการตอกตะปูแม้แต่ดอกเดียว ใช้การเข้าเดือยไม้
ต่อมาพระยาอดุลยเดชฯ ได้ขายอาคารหลังนี้ให้กระทรวงมหาดไทย เพื่อใช้เป็นที่พักของ ผู้ว่าฯ เมื่อ พ.ศ. 2470  ในราคา 2 หมื่นบาท และในระหว่างวันที่ 12-13 พ.ย. 2498  ในหลวงและพระราชินี  เสด็จพระราชดำเนินทรงเยี่ยมราษฎรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ  ทางจังหวัดจึงจัดให้จวนแห่งนี้เป็นที่ประทับแรม
ปัจจุบันกรมศิลปากรได้ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถาน  สำหรับคนที่สนใจเดินทางไปเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์แห่งนี้
สอบถามเส้นทางและข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่  ททท.สำนักงานนครพนม  โทร.042-513-490-1
พิพิธภัณฑ์จวนผู้ว่าราชการจังหวัดนครพนม (หลังเก่า)

พิพิธภัณฑ์วัตถุโบราณวัดศรีชมพู

พิพิธภัณฑ์วัตถุโบราณวัดศรีชมพู

ที่อยู่
บ้านอูนนา ตำบลนางัว อำเภอนาหว้า จังหวัดนครพนม
โทรศัพท์: ๐๘๑- ๐๕๙ ๐๒๖๓, ๐๘๑- ๒๖๐-๙๔๘๖

กิจกรรมที่ดำเนินการ
จัดโชว์วัตถุโบราณสมัยต่าง ๆ กว่า ๒๐๐ ชนิด

 

พิพิธภัณฑ์บ้านกลาง

พิพิธภัณฑ์บ้านกลาง

ที่อยู่
บ้านกลางใหญ่ ตำบลบ้านกลาง อำเภอเมืองนครพนม จังหวัดนครพนม
โทรศัพท์: ๐๔๒ ๕๗๕๒๙๖

กิจกรรมที่ดำเนินการ
รวบรวม สิ่งของเครื่องใช้สมัยก่อน เช่น พระพุทธรูปโบราณปางต่าง ๆ เหรียญ เงิน พันธบัตร สิ่งของเครื่องใช้ในชีวิตประจำวัน

 

บ้านท่านโฮจิมินท์

บ้านท่านโฮจิมินท์

ที่อยู่
๔๘ หมู่ ๕ บ้านนาจอก ตำหนองญาติ อำเภอเมืองนครพนม จังหวัดนครพนม

กิจกรรมที่ดำเนินการ
๑. จัดแสดงจำลองบ้าน และประวัติท่านโฮจิมินท์ที่มาอาศัยอยู่กับเพื่อน ณ บ้านนาจอก
๒. จำหน่ายสินค้าจากเวียตนาม เช่น เสื้อผ้า หมวก ตุ๊กตา ยาสมุนไพรเวียตนาม ชาเวียตนาม ชาไทย